การพัฒนาครูแกนนำภาษาอังกฤษในระดับภูมิภาค (Boot Camp)
หน่วยศึกษานิเทศก์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
๑.หลักการและเหตุผล
ภาษาอังกฤษ ถือเป็นปัจจัยที่สำคัญในการยกระดับขีดความสามารถของเยาวชนไทยที่เป็นกำลังขับเคลื่อนหลักในการพัฒนาประเทศ และผู้ใช้แรงงานในอนาคตที่จะก้าวเข้าสู่การแข่งขันในตลาดแรงงานในอนาคตที่จะก้าวเข้าสู่การแข่งขันในตลาดแรงงานทั้งในระดับประเทศ รวมถึงระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติ ซึ่งนับวันยิ่งมีการแข่งขันที่สูงขึ้น ดังนั้นรัฐบาลไทยจึงมีนโยบายในการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษให้แก่เยาวชนไทย
จากความสำคัญดังกล่าว กระทรวงศึกษาธิการโดยนายกรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
พลเอกดาวพงษ์ รัตนสุวรรณ จึงได้ลงนามบันทึกความเข้าใจร่วม (MOU) กับสถานทูตอังกฤษ ประจำประเทศไทย โดยเอกอัครราชทูตอังกฤษ ประจำประเทศไทย ฯพณฯ Brian Davidson ในการจัดจ้าง British Council เพื่อจัดการอบรมให้แก่ครูผู้สอนภาษาอังกฤษในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในศูนย์อบรมครูภาษาอังกฤษ ระดับภูมิภาค (Boot Camp) ครอบคลุมทั้ง ๔ ภูมิภาค ในเบื้องต้นได้จัดตั้งศูนย์ จำนวน ๔ ศูนย์ ในเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ ปีงบประมาณ ๒๕๖๐ ต่อมา
นายแพทย์ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มีนโยบายให้ขยายผลศูนย์อบรมครูภาษาอังกฤษระดับภูมิภาค ให้จัดตั้งเพิ่มเติมอีก ๘ ศูนย์ ในปีงบประมาณเดียวกัน โดยจัดตั้งศูนย์อบรมครูอยู่ในโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำจังหวัดและในปีงบประมาณ ๒๕๖๑ เปิดศูนย์เพิ่มเติมจำนวน ๓ ศูนย์ จัดตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยราชภัฎ
รวมทั้งสิ้น ๑๕ ศูนย์ ทั่วประเทศ กลุ่มเป้าหมายได้แก่ ครูผู้สอนภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อยกระดับความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษและเทคนิคการสอนภาษาอังกฤษตามแนวทางการสอน Communicative Approach อย่างเข้มข้นจากวิทยากรชาวต่างชาติผู้เชี่ยวชาญด้านการเรียนการสอนภาษาอังกฤษที่มีคุณภาพมาตรฐานสากล ประจำศูนย์ ศูนย์ละ ๓ คน โดยมีจำนวนผู้เข้าร่วมอบรม รุ่นละ ๗๕ คน อบรม ๓ สัปดาห์ โดยมีการจัดอบรมประมาณ ๑๐ รุ่น ในระยะเวลา ๑ ปี
จากผลการดำเนินงาน ดังกล่าว ได้มีการวิเคราะห์และสรุปผลการดำเนินงาน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้มีนโยบายให้ย้ายศูนย์อบรมที่ตั้งอยู่ในโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำจังหวัด จำนวน ๑๒ รุ่น ไปอยู่ในมหาวิทยาลัยราชภัฎ เพื่อให้เกิดการบูรณาการการทำงานร่วมกัน ระหว่างหน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษา ดังนั้นในปัจจุบันศูนย์อบรมครูภาษาอังกฤษในระดับภูมิภาคจึงมีที่ตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยราชภัฎทั้งหมด
นอกจากนี้ กระทรวงศึกษาธิการตั้งเป้าหมายในการครูกลุ่ม Master Trainer จำนวน ๔๖ คน จากโครงการอบรมพัฒนาครูแกนนำด้านการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ในปีงบประมาณ ๒๕๕๙ – ๒๕๖๐ มาเข้าร่วมพัฒนาโดยให้มีบทบาทเป็นวิทยากรร่วมกับวิทยากรชาวต่างชาติในศูนย์ที่ตั้งขึ้น ทั้งนี้ การจัดตั้งศูนย์อบรมดังกล่าวทุกภูมิภาคจะช่วยกระจายศูนย์การอบรมและอำนวยความสะดวกให้แก่ครู ให้สามารถเข้ารับการอบรมในศูนย์อบรมที่ใกล้กับพื้นที่ที่ครูปฏิบัติงานของตน เพื่อให้ครูที่ผ่านการอบรมปรับเปลี่ยน พฤติกรรมการสอนและสามารถนำความรู้ที่ได้รับ ไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้แก่นักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพบรรลุตามเป้าหมายของหลักสูตร
๒.วัตถุประสงค์
๑. เพื่อพัฒนาและยกระดับความรู้ ความเข้าใจ เทคนิคการจัดการเรียนการสอนรูปแบบ Communicative Approach ของครูผู้สอนภาษาอังกฤษ ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ทั่วประเทศ
๒. เพื่อพัฒนา และ ยกระดับภาษาอังกฤษของครูผู้สอนภาษาอังกฤษ ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน ทั่วประเทศ
๓. เพื่อพัฒนาศักยภาพการเป็นวิทยากร สำหรับกลุ่ม Master Trainer ให้สามารถดำเนินการจัดอบรมในรูปแบบ
Communicative Approach ได้ด้วยตนเองและเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน
๔. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จและแนวทางการปรับปรุง การอบรมในศูนย์อบรมครูภาษาอังกฤษระดับภูมิภาค
๓.เป้าหมาย
๑.ครูผู้สอนภาษาอังกฤษผ่านการอบรม ณ ศูนย์อบรมภาษาอังกฤษในระดับภูมิภาคในปีงบประมาณ ๒๕๖๐ ระยะที่ ๑ จำนวน ๙๐๐ คน ระยะที่ ๒ จำนวน ๒,๔๐๐ คน และระยะที่ ๓ จำนวน ๒,๗๐๐ คน โดยเสร็จสิ้นปีงบประมาณ ๒๕๖๐ รวมทั้งสิ้น ๖,๐๐๐ คน และ ปีงบประมาณ ๒๕๖๑ จำนวน ๑๑,๒๕๐ คน
๒.ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความสามารถเพิ่มขึ้นในทักษะภาษาอังกฤษด้าน การฟัง การพูด การอ่าน และ การเขียน รวมถึงเทคนิคการจัดการเรียนการสอนตามรูปแบบ Communicative Approach และ สามารถนำความรู้ แนวคิด และ แรงบันดาลใจที่ได้รับจากการอบรมไปปรับใช้ในการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษในโรงเรียนของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นรูปธรรม
๓.วิทยากรชาวไทยประจำศูนย์อบรม Master Trainer ได้รับการฝึกฝนพัฒนาศักยภาพการเป็นวิทยากร เพื่อให้สามารถดำเนินการจัดอบรมการจัดการเรียนการสอนตามรูปแบบ Communicative Approach ได้ด้วยตนเอง เพื่อนำไปสู่การพัฒนาบุคลากรครูภาษาอังกฤษในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
๔.หน่วยศึกษานิเทศก์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของโครงการและผู้เข้าร่วมโครงการ เพื่อใช้เป็นฐานในการพัฒนา และ ปรับปรุงโครงการทั้งในปัจจุบัน และที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการพัฒนาครูภาษาอังกฤษ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
๔.หน่วยงาน / ผู้รับผิดชอบ
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก หน่วยศึกษานิเทศก์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ
กรอบแนวทางในการดำเนินการอบรมครูแกนนำภาษาอังกฤษในระดับภูมิภาค (Boot Camp)
๑.หลักสูตรการอบรม
หลักสูตรการอบรมครูแกนนำภาษาอังกฤษในระดับภูมิภาค ( Boot Camp) สำหรับครูผู้สอนภาษาอังกฤษ โดยความร่วมมือระหว่างสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการและ สถานทูตอังกฤษ ประจำประเทศไทย โดย บริติช เคานซิล ประเทศไทย จำนวน ๓ หลักสูตร ดังนี้
๑.หลักสูตรการพัฒนาวิทยากรแกนนำด้านการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ เพื่อการสื่อสารในระดับภูมิภาค (Master Trainer) ระยะเวลา ๔ สัปดาห์ เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ของวิทยากรแกนนำด้านจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารเกี่ยวกับแนวคิด วิธีการในการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษที่เน้นการสื่อสารภายใต้กรอบ CEFR และเพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการขยายผลให้แก่ครูในศูนย์พัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษระดับภูมิภาค
๑.๑ Communicative Language Teaching
๑.๒ Confidence-Building Speaking Activities
๑.๓ Learner – Centred Classrooms
๑.๔ Speaking Activities
๑.๕ Planning a task Based Lesson
๑.๖ Professional Language Community
โดยผ่านกิจกรรมการอบรมที่หลากหลาย ประกอบด้วย Teaching Analysis, Brainstorming, Group Discussions, Theoretical Lectures, Actual Practice, Reflection, Presentation and Discussion
๒.หลักสูตรการพัฒนาครูผู้สอนภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษา (Boot Camp) ระยะเวลา ๓ สัปดาห์
สัปดาห์ที่ ๑
๒.๑ Get To Know You and Lesson Planning
๒.๒ Teaching Vocabulary
๒.๓.Language Use and Instruction for Primary
๒.๔ Microteaching ๑
๒.๕ Getting Attention and Signaling
๒.๖ Teaching Reading
สัปดาห์ที่ ๒
๒.๑ Teacher Language and Language Practice Activities
๒.๒ Teaching Speaking
๒.๓ Maximising Speaking and Microteaching ๒
๒.๔ Interaction Patterns
๒.๕ Grammar for Primary
สัปดาห์ที่ ๓
๓.๑ Motivating Learners and Listening
๓.๒ Teaching Writing
๓.๓ Error Correction
๓.๔ Giving Instructions
๓.๕ Planning Skills Lessons
๓.๖ Review
๒. คณะวิทยากร
วิทยากรชาวต่างชาติที่มีความเชี่ยวชาญ ด้านการพัฒนาภาษาอังกฤษและเทคนิคการสอน ตามมาตรฐานของบริษัท บีซี ออพเพอะเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งมีคุณสมบัติ คือ เชี่ยวชาญชาวต่างประเทศซึ่งได้รับวุฒิบัตร CELTA (Certificate in teaching English to speakers of other Language) จากสถาบัน Cambridge English ด้านการสอนภาษาอังกฤษ รวมทั้งมีประสบการณ์ด้านการฝึกอบรมครู
๓.คุณสมบัติผู้เข้ารับการอบรมครูแกนนำภาษาอังกฤษในระดับภูมิภาค (Boot Camp)
หลักสูตรการพัฒนาครูแกนนำภาษาอังกฤษในระดับภูมิภาค (Boot Camp) มีเกณฑ์คุณสมบัติผู้เข้ารับการอบรม ดังนี้
๑.ครูผู้สอนภาษาอังกฤษที่สอนระดับชั้นประถมศึกษาและระดับชั้นมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานโดย
๑.๑ เป็นครูผู้สอนภาษาอังกฤษที่เรียนจบวิชาเอกภาษาอังกฤษ หรือ
๑.๒ เป็นครูผู้สอนภาษาอังกฤษที่ไม่ได้เรียนจบวิชาเอกภาษาอังกฤษ แต่มีความรักความสนใจในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ หรือ
๑.๓ เป็นครูผู้สอนภาษาอังกฤษที่เป็นผู้ประสานงานศูนย์ PEER หรือ ศูนย์ ERIC
๒.ครูผู้สอนภาษาอังกฤษตามคุณสมบัติตามข้อ ๑ ที่มีอายุไม่เกิน ๕๗ ปี
๔.การสมัครเข้ารับการอบรม
ศูนย์อบรมครูแกนนำภาษาอังกฤษในระดับภูมิภาค (Boot Camp) จะจัดอบรมครูภาษาอังกฤษรุ่นละ ๗๕ คน โดยมีการดำเนินการดังนี้
๑.สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน แจ้งการจัดสรรโควตาครูผู้สอนภาษาอังกฤษที่เข้ารับการอบรมให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
๒.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สรรหาครูผู้สอนภาษาอังกฤษตามโควตาและผู้ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด ส่งรายชื่อไปยังสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและศูนย์อบรมครูภาษาอังกฤษในระดับภูมิภาค
(Boot Camp) เข้ารับการอบรม
๕.การติดตามและการประเมินผล
๑.วิทยากรชาวต่างชาติ (Trainers) ประเมินครูผู้เข้ารับการอบรมเป็นรายบุคคลในด้านความสามารถทางภาษาอังกฤษและความสามารถทางการสอน โดยใช้เครื่องมือที่หลากหลายทั้งแบบ สังเกต แบบประเมิน และการสอน ในระหว่างการอบรม
๒.ภายหลังการอบรม ๑ เดือน ศูนย์อบรมครูแกนนำภาษาอังกฤษในระดับภูมิภาค (Boot Camp) จะเชิญครูที่ผ่านการอบรม เพื่อติดตามผลภายหลังการอบรมของแต่ละรุ่น (Follow on) จำนวนรุ่นละ ๒ วัน เพื่อให้ครูผู้สอนภาษาอังกฤษที่ผ่านการอบรมจากศูนย์อบรมครูแกนนำภาษาอังกฤษในระดับภูมิภาค (Boot Camp) ที่ได้นำความรู้ จากการอบรมไปจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในชั้นเรียนของตนเองแล้ว ๑ เดือน สะท้อนผลที่เกิดจากการนำความรู้จากการอบรมไปใช้กับนักเรียนในชั้นเรียน ปัญหา อุปสรรค และการแก้ปัญหา ข้อเสนอแนะ หรือผลที่เกิดขึ้นกับนักเรียน
๓.ภายหลังการอบรม ๑ ปี ครูผู้สอนภาษาอังกฤษที่ผ่านการอบรมศูนย์อบรมครูแกนนำภาษาอังกฤษในระดับภูมิภาค (Boot Camp) ส่งแผนการสอนที่ใช้ในการสอนจริง โดยใช้รูปแบบที่ได้จากการอบรม เช่น วีดีโอหรือคลิปการสอนในชั้นเรียน ให้กับศึกษานิเทศก์ภาษาอังกฤษประจำเขตพื้นที่ เพื่อนิเทศติดตาม ให้ข้อเสนอแนะ และให้ความช่วยเหลือ
๔.หน่วยศึกษานิเทศก์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการหรือหน่วยงานที่ได้รับมอบหมาย ลงพื้นที่ดำเนินการติดตามเพื่อประเมินผลการอบรม และศึกษาการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการจัดการเรียนการสอนของผู้เข้ารับการอบรม